ภาพวาดโรงสีลมในจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ที่ฝาผนังโบสถ์วัดบวรนิเวศวิหาร เขียนสมัย ร.๔ภาพจากหนังสือจิตรกรรมแบบสากลสกุลช่างขรัวอินโข่ง
ภาพวาดโรงสีลมในจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ที่ฝาผนังโบสถ์วัดบวรนิเวศวิหาร เขียนสมัย ร.๔ภาพจากหนังสือจิตรกรรมแบบสากลสกุลช่างขรัวอินโข่ง

โรงสีฝรั่ง (โรงสีลม และโรงสีไฟ

หลักฐานเก่าสุดที่พบ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๓๐ (โรงสีลม) และสมัย ร.๔ พ.ศ.

๒๔๐๑ (โรงสีไฟ) หลักฐานเรื่องโรงสีแบบฝรั่งเก่าสุดที่พบ ปรากฏในหนังสือ “จดหมายเหตุ ลาลูแบร์” เล่ม ๑ ฉบับที่แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร หน้า ๗๔ ขอให้ดูในบทที่ ๗ ว่าด้วยเมล็ดพืชของประเทศสยาม ข้อ ๔ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ผู้เข้ามาเจริญ สัมพันธไมตรีกับไทย มาอยู่กรุงศรีอยุธยา ๓ เดือน ๖ วัน (๒๗ กันยายน ค.ศ. ๑๖๘๗ หรือ พ.ศ. ๒๒๓๐ ถึง ๓ มกราคม ค.ศ. ๑๖๘๘หรือ พ.ศ. ๒๒๓๑)ได้เขียนถึงเรื่องเมืองไทยไว้อย่างละเอียดลออลาลูแบร์กล่าวไว้ว่าในสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินทรงมีไร่ข้าวโพดสาลีอยู่ด้วย (ดูหัวข้อที่ ๙ ข้าวสาลี เพิ่มเติม) อาจจะเพราะทรงเห็นเป็นของแปลกมากกว่านิยมในรสชาติและขนมปังสดที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลีซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรด พระราชทานแก่คณะทูตก็ออกจะผากเกินไปจนแม้ข้าวสวยที่แสนจะจืดชืดเขาก็เห็นว่า ยังจะน่ากินกว่า

ลาดูแบร์ให้ความรู้เรื่องโรงสีลมว่า“…ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในประเทศสยาม สั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัต ทั้งๆ ที่ใกล้ๆ กรุงสยาม (ศรีอยุธยา) ก็มีโรงสีลมสำหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่ง และที่ใกล้เมืองละโว้ก็มีอีกแห่งหนึ่ง.”คำว่า โรงสีลม ในฉบับภาษาอังกฤษ หน้า ๑๗ใช้ว่า windmil ดังมีข้อความ กล่าวว่าดังนี้

“The French which are setled there, do import Meal form Surrafi;altho’near Siam there is a Windmil to grind Corn, and another near Louvo”

โรงสีลมไม่ใช่โรงสีแบบไทย และไทยเราปกติก็ไม่ได้ตั้งโรงสีกันอย่างฝรั่ง เรานิยมใช้ครกกระเดื่องตำ

ข้าวกินกันเองในแต่ละครัวเรือนมาแต่โบราณ ดังเช่น หนังสือ “ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๑๑” หน้า ๑๕๕ ประกาศพระราชทานโอวาทแก่ผู้ซื้อข้าว ขายข้าว พ.ศ. ๒๔๐๗ (ประกาศที่ ๒๕๓)กล่าวไว้ว่า

“แต่ก่อนเมื่อมีโรงสีข้าวสารขายยังน้อยอยู่ ตามบ้านเรือนต่างๆ จนใน พระบรมมหาราชวังแลพระบวร

ราชวังก็มีกระเดื่องแลครกตำข้าวแทบ ทุกเหย้าเรือน กลางวันหรือบ่ายแล้วนายก็ใช้ให้บ่าวตำครกละสากบ้าง สองสากบ้างแล้วก็ฝัดเป็นข้าวสารกรอกหม้อทีเดียว”

โรงสีลมแบบฝรั่งคงสูญหายเสื่อมโทรมไปตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นเรื่องเฉพาะกิจมากกว่า

เรื่องปกติ โรงสีแบบฝรั่งมาเริ่มมีขึ้นอีกในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่เปลี่ยนมาเป็นแบบ โรงสีไฟ คือใช้เครื่องจักรกลไฟมาช่วยในการทำงาน หลักฐานเก่าสุดที่พบ ปรากฏในหนังสือ Siam Directory ปี ค.ศ. ๑๘๘๙ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ของหมอสมิธในหนังสือเล่มนั้นจะสรุปเหตุการณ์เด่นๆ ของแต่ละเดือนของปีต่างๆ ประมวลไว้ เฉพาะที่เกี่ยวกับโรงสีไฟมีกล่าวในหน้า ๒๑ เหตุการณ์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

“22 American Rice Mill started, 1858 and sold to Chinese, 1884”

หมายความว่าโรงสีอเมริกันเริ่มเปิดสีข้าวเมื่อวันที่๒๒ตุลาดม ค.ศ. ๑๘๕๘ เท่ากับ พ.ศ.๒๔๐๑ ต่อมาได้

ขายให้ชาวจีนไปในปี ๑๘๘๔เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๒๗ที่ทราบว่าเป็นโรงสีจักรกล และเป็นโรงแรกก็โดยอาศัยหลักฐานจากหนังสือ “พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หน้า ๖๘๑ มีข้อความในพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกา พ.ศ. ๒๔๐๒ ตอนหนึ่งว่า“มีลูกค้าชาวอเมริกาพวกหนึ่งได้เอาเครื่องจักรสีข้าวมาตั้งทำโรงสีข้าวอยู่ในแขวงกรุงเทพมหานครนี้แห่งหนึ่ง” โรงสีข้าวดังกล่าวตั้งอยู่ที่ปากคลองบางน้ำชนบริเวณถนนตก มีมีสเตอร์ เอฟ.เพล็กซ์เป็นผู้จัดการ ข้อชุดท้ายนี้ขอให้อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “สิ่งแรกในเมืองไทย” เล่ม ๑ ของ สงวน อั้นคง เรื่องโรงสีไฟ

ภาพวาดเงาดำ (silhouette) รูปคนไทยตำข้าวตามแบบโบราณ วาดสมัย ร.๕ โดย A. Steffen หนังสือ Eastern Sihouettes หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพวาดเงาดำ (silhouette) รูปคนไทยตำข้าวตามแบบโบราณ วาดสมัย ร.๕ โดย A. Steffen หนังสือ Eastern Sihouettes หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
โรงสีไฟสมัย ร.๕ ในภาพเป็นโรงสีไฟซาเวีย ภาพจากหนังสือ Twentieth Century Impressions of Siam
โรงสีไฟสมัย ร.๕ ในภาพเป็นโรงสีไฟซาเวีย ภาพจากหนังสือ Twentieth Century Impressions of Siam
ภาพโปสการ์ด รูปคนตำข้าวที่ปากลัด จ.สมุทรปราการ จากหนังสือ Postcards of old Siam โดย Bonnie Davis
ภาพโปสการ์ด รูปคนตำข้าวที่ปากลัด จ.สมุทรปราการ จากหนังสือ Postcards of old Siam โดย Bonnie Davis

 

หมอสมิท (Samuel Jones Smith เกิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ค. ๒๓๖๓ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  ๑๐ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๕๒อายุ๘๙ปี)ผู้ทำาหนังสือ Siam Directory ภาพถ่ายขนาดการ์ด เดอ วิสิท หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หมอสมิท (Samuel Jones Smith เกิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ค. ๒๓๖๓ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๕๒อายุ๘๙ปี)ผู้ทำาหนังสือ Siam Directory ภาพถ่ายขนาดการ์ด เดอ วิสิท หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หลักฐานเรื่องโรงสีไฟในสยาม ไดเร็คตอรี ประจำปี ๒๔๓๑ หน้า ๒๑ ถ่ายไมโครฟิล์มจากหอสมุดแห่งชาติ
หลักฐานเรื่องโรงสีไฟในสยาม ไดเร็คตอรี ประจำปี ๒๔๓๑ หน้า ๒๑ ถ่ายไมโครฟิล์มจากหอสมุดแห่งชาติ