ชาวเอสกิโมในภาพยนตร์เรื่อง Nanook of the North หรือ นานุกแห่งถิ่นเหนีอ ภาพจาก หนังสือ “หนังไทยกลับบ้าน” จัดพิมพ์โดยสมาคมกิจวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๓๓

หน้าร้อนปีนี้เห็นทีจะต้องเขียนเรื่องน้ำแข็งสักครั้ง อย่างน้อยจะได้รู้สึกว่า มีวิชาการอยู่ในน้ำแข็งที่เรากินดับกระหายอยู่บ้าง

มนุษย์หิมะ ชาวเอสกิโม และผู้คนที่อยู่ในเขตอากาศหนาวคงรู้จักหิมะ และน้ำแข็งมาตั้งแต่เกิค แต่สำหรับชาวไทย ซึ่งเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ดูเหมือนจะเพิ่งรู้จักหรือเพิ่งจะเหินก้อนน้ำแข็งจริงๆ กันเมื่อประมาณ ๑๒๐ กว่าปีมานี้เอง นี้ไม่นับจำพวกลูกเห็บหรือน้ำค้างแข็งนะครับ

ผมติตใจเรื่องประวัติน้ำแข็งเมืองไทยมานาน จำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ เคยได้เห็นใครเขียนประวัติเรื่องแรกรู้จักน้ำแข็งทีหนึ่ง จำไม่ได้ว่าอยู่ในหนังสือฉบับไหน แต่รู้สึกชวนสนุกมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ จนเมื่อสิกว่าปีมาแล้ว ที่ยังสนใจข้อมูลน้ำแข็งอยู่

แม้เรื่องน้ำแข็งจะมีเนื้อความไม่มาก แต่ก็จะขอเขียนสรุปประมวลไว้เพื่อจะได้ขยายความในโอกาสอันเหมาะต่อไป หนังสือสาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๒ มีลายพระหัตถ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริครานุวัดติวงศ์ ตอนหนึ่งว่า มีบาทหลวงไทยชื่อประมุข มินประพาฬ ออกไปเรียนที่อิตาลี เขียนจดหมายมาทูลถามเรื่องน้ำแข็ง จดหมายนั้นลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ ว่าหนังสือพิมพ์อิตาลีรายเดือนฉบับหนึ่ง กล่าวถึงเมืองไทยในทางพิกล พิกลอย่างไร ขอให้ท่านลองอ่านเนื้อความที่ท่านบาทหลวงถอดเป็นภาษาไทยดู

“ความลึกลับแห่งน้ำแข็ง-ชาววิลันดานักท่องเที่ยวผู้หนึ่ง เมื่อถึงสยาม ได้เล่าให้กษัตริย์ประเทศร้อนนี้ฟังว่า ชาวเมืองของตน ถึงคราวหนึ่งในเทศกาลทุกปี ต่างพากันเดินเล่นบนน้ำกษัตริย์ทรงสดับดังนั้นจึงอัญเชิญชาววิลันดาให้ออกจากที่เฝ้าทันที และดำรัสแก่ข้าราชบริพารของพระองค์ว่า “ข้าไม่ชอบคนมุสา อย่าให้อ้ายคนนั้น เข้ามาเฝ้าอีก” กษัตริย์นั้นไม่เคยพบน้ำแข็ง เลยถือว่านำเอานิยายโกหกมดเท็จ ซึ่งพระองค์ไม่สามารถเข้าใจถึงมาเล่า”

เรื่องของเรื่อง มันเป็นอย่างนี้ ท่านบาทหลวงอ่านของเขาแล้วรู้สึกเป็นห่วง ภาพพจน์เมืองไทย เกรงชาวยุโรปจะปักใจคิดว่ากษัตริย์ไทยทรงขาดเชาว์พิเคราะห์ เนื้อข่าวที่เขียนมา ไม่รู้ว่านักข่าวไปหาเอามาจากไหน ท่านอยากทราบว่าใน ประวัตศาสตร์ของไทย เคยกล่าวถึงเรื่องราวตอนนี้ไว้บ้างหรือไม่ ถ้าหากไม่มี หรือคิดเห็นว่าเป็นความเท็จ ท่านจะได้ชี้แจงไปให้หนังสือพิมพ์กับคนเขียนข่าว ได้แก้ไข ให้ถูกด้อง

เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรับจดหมายทูลถามแล้ว พระองค์ได้ทรงเขียนตอบ

บาทหลวงประชุมไป “สาส์นสมเด็จ” ลงว่า ได้ทรงส่งสำเนา ตอบ มาถวายสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงอ่านเล่น แต่ผมพยายาม พลิกหาสำเนาดู ปรากฏว่าไม่มีสำเนาไห้อ่านในเล่มรวมพิมพ์ด้วย ข้อนี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะไม่รู้ว่าทรงตอบให้ความรู้ไปอย่างไร ถ้าได้มีการค้นหาสำเนาลายพระหัตถ์แล้ว อาจได้เกร็ดดีๆ เพิ่มเติมออกไป

สมมติว่าชาววิรันดา หรือชาวฮอลันดา หรือชาวเนเธอร์แลนด์คนที่เกร็ดกล่าว ถึง ทูลเรื่องคนเดินบนน้ำแข็งแด่พระเจ้าอยู่หัวไทยจริง แต่กระนั้นนั่นก็เป็นแต่เพียงคำพูด ยังไม่มีผู้ใดสามารถนำน้ำแข็งของจริงมาถวายทอดพระเนตรชัดๆ ได้ สาเหตุสำคัญก็คือ การคมนาคมยังไม่สะดวกเพียงพอ และเทคโนโลยีผลิตก้อนน้ำแข็ง เพื่อจำหน่ายก็ยังไม่เกิด

ผมยังค้นข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเครื่องทำน่าแข็งไม่ได้ หลักฐานเท่าที่มีในมือ ถือว่ายังบกพร่องขัดๆ แย้งๆ กันอยู่ ต้องขออนุญาตกระโดดข้าม ข้ามมาที่เมืองไทยโดยตรง พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่อง ‘‘ความทรงจำ” ทำให้เราได้รู้ว่า น้ำแข็งเป็นก้อนจับแล้วเย็นมือมาถึงเมืองไทยคราวแรกๆ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔

ใน “ความทรงจำ” ตอนที่ ๑ เลยทีเดียว ทรงกล่าวตอนหนึ่งว่ารับส่งสินค้าผู้คน ระหว่างกรุงเทพ-สิงคโปร์ ๑๕ วันมาถึงกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่ง เรือเจ้าพระยาลำนี้แหละครับที่ขนเอาน้ำแข็งเข้ามาประเทศสยามด้วย

ต่อจากนี้ก็จะถึงหลักฐานสำคัญละครับ กลั้นใจยาวๆ สักนิด

“เมื่อรู้ว่าเรือเจ้าพระยาเข้ามาถึงก็พากันยินดี ด้วยมักมีผู้ส่งของเข้ามาถวายทูลกระหม่อม บางทีมีของ

เล่นแปลกๆได้พระราชทานเนืองๆ ของประหลาดอย่างหนึ่ง นั่นคือ น้ำแข็ง ดูเหมือนจะเพิ่งทำได้ที่เมืองสิงคโปร์ไม่ช้านัก มีผู้ส่งแท่งน้ำแข็งไส่หีบ กลบขี้เลื่อยมาถวายเนืองๆได้น้ำแข็งมาเมื่อใด ก็มักโปรดให้แจกเจ้านายและข้าราชการ ผู้ใหญ่ พวกที่เพิ่งได้เห็นน้ำแข็งชั้นเด็กๆ เช่นตัวฉันชอบต่อยออกเป็นก้อนเล็กๆ อมเล่นเย็นเฉียบสนุกดี พวกที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ดูมิใคร่มีใครชอบ มักบ่นกันว่ากินน้ำแข็ง ปวดฟัน และยังมีพวกคนแก่ที่เป็นแต่ได้ยินว่าแจกน้ำแข็งไม่เชื่อว่าน้ำ กระซิบกันว่า “จะปั้นน้ำเป็นตัวอย่างไรได้” ด้วยมีในคำสุภาษิตพระร่วงว่า “อย่าปั้นน้ำเป็นตัว” หมายความห้ามมิให้ทำอะไรฝืนธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวแต่ว่า “ปั้นน้ำเป็นตัว”

หมายความติเตียนว่าแกล้งปลูกเท็จให้เป็นจริง เคยไค้ยินกันชินหูมาแต่โบราณ

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ประสูติ พ.ศ. ๒๔๐๕) ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เรือเจ้าพระยาซึ่งเดินระหว่างกรุงเทพ-สิงคโปร์ เรือลำนี้นำน้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่สมัย ร.๔ ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอนกสแกน
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดา (เสื้อดอกคือ ม.จ. พิไลยเลขา นั่งซ้ายคือ ม.จ. พูนพิศมัย นั่งขวาคือ ม.จ. พัฒนายุ) ภาพจากหอสมุดดำรงราขานุภาพ เอนกสแกน

โรงทำน้ำแข็งเพิ่งมามีขึ้นในประเทศนี้ ต่อเมื่อรัชกาลที่ ๕ นอกจากของที่ส่งมาจาก “เมืองนอก” บางทีทูลกระหม่อมเสด็จประพาสเวลาบ่ายไปแวะห้างฝรั่ง…”

ย่อหน้าเพียงย่อหน้าเดียว ให้ความรู้แก่เราได้มากมิใช่น้อย เราได้รู้ว่า น้ำแข็งก็เป็นของประหลาดของยุคนั้น เป็นของเพิ่งทำได้ที่เมืองสิงคโปร์ ได้มาแล้วในหลวงทรงแจกทั้งเจ้านาย และกระทั่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

คำว่า “ปั้นน้ำเป็นตัว” เพิ่งมาเป็นจริงให้เห็นก็ในยุคนั้น โรงทำน้ำแข็งเมืองไทย เพิ่งมามีในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผมคิคว่ารู้แค่นี้ ก็ได้รู้มหาศาลแล้ว

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงเห็นน้ำ แข็งและรู้จักเสวยน้ำแข็งเมื่อตอนเป็นเด็ก นี้แสดงว่า สัก พ.ศ. ๒๔๐๙ หรือก่อนหลัง จากนั้นไม่กี่ปี สมมติว่าทรงจำความได้เมื่อพระชนมายุ ๔-๕ พรรษา น้ำแข็งก็มีมาถึง เมืองไทยแล้ว

เรื่องน้ำแข็งแรกมีในเมืองไทยยังมีเกร็ดให้อ่านอีกเล็กน้อย เป็นรายละเอียด เสริมจากเรื่องที่เพิ่งเล่ามา ม.จ.หญิง พูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเขียนเรื่องน้ำแข็งไว้ตอนหนึ่ง พิมพ์ซ้ำในหนังสือชื่อ “เรื่องพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หน้า ๖๐ ว่า

น้ำแข็ง

(ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์)

ในสมัยรัชการที่ ๔ เรือใบเป็นเรือเมล์ เดินทางจากสิงคโปร์ – กรุงเทพฯ เป็น เวลา ๑ เดือน เวลานี้

(๒๕๑๘) เรือบินใช้เวลาเพียง ๒ ชั่วโมง

เสด็จพ่อทรงเล่าว่า เวลาทำน้ำแข็งได้ใหม่ๆ ที่สิงคโปร์ กงสุลไทยจัดการเอาน้ำแข็งก้อนใหญ่ใส่ในหีบ

ไม้ฉำฉา และขี้เลื่อยคลุมมิดชิดส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจัาอยู่หัว พอถึงกรุงเทพฯ ก็เหลือก้อนขนาดชามอ่างขนาดกลาง วันหนึ่งทูลกระหม่อมปู่เสด็จขึ้นจากทางฝ่ายหน้า ตรัสเรียกว่า “ลูกจ๋าๆๆ” พวกพระราชโอรสธิดารวมทั้พระองค์ท่านด้วย ก็พากันวิ่งเข้าไปล้อมพระองค์ จึงเห็นว่าทูลกระหม่อมทรงถือขันทองใส่ก้อนขาวๆ อยู่แล้วทรงหยิบก้อนเล็กๆ นั้น ใส่ใน

พระโอษฐ์เจ้านายเล็กๆ นั้นองค์ละก้อน ตรัสว่า “กินน้ำแข็งเสีย” แล้วตรัสสั่งให้โขลน (โปลิศหญิงในวัง)ไปตามคุณจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) ขึ้นมาดูน้ำแข็ง

โขลนเรียนท่านว่า  “มีรับสั่งให้ท่านขึ้นไปดูน้ำแข็งเจ้าค่ะ”

คุณจอมถามว่า “เอ็งว่าอะไรนะ”

โขลนว่า “น้ำแข็งเจ้าค่ะ”

คุณจอมร้องว่า “เอ็งนี่ปั้นน้ำเป็นตัว”

คำนึ้เลยเป็นภาษิตต่อมา.

นี้คือเรื่องเล่าเพิ่มเติม แต่ประโยคสุดท้ายที่ทรงเขียนว่า “คำนี้เลยเป็นภาษิต ต่อมา” เมื่อไปเทียบกับสุภาษิคพระร่วงดังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเขียนและผมได้คัดให้เห็นแต่ต้นแล้ว ก็คงจะต้องตัดออก เพราะมิใช่ภาษิตเพิ่งเกิด

“เครื่องทำน้ำแข็ง” มีในเมืองไทยเมื่อใด?

หลักฐานเรื่องเครื่องทำน้ำแข็ง ค้นพบได้เก่าสุดระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๑๘ ให้ท่านดูหนังสือ “ความ

ทรงจำ” ตอน ๕ กลางๆ

เหตุการณ์ในช่วงนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่าหลัง จาก ร.๕ เสด็จกลับจาก

ประพาสสิงคโปร์ พ.ศ. ๒๔๑๔พระองค์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า หรือร่วมโต๊ะเสวยเสมอ

“ไอศกริมเป็นของวิเศษในเวลานั้นเพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กๆ ที่สำหรับเขาทำกันตาม

เมืองนอกเข้ามาถึงเมืองไทย ทำบางวันน้ำก็แข็ง บางวันก็ไม่แข็ง มิไอศกริมตั้งเครื่องแต่บางวัน จึงเห็นเป็นของวิเศษ..” (หน้า ๒๗๓-๒๗๔)

นี่แสดงว่าเครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กๆ มีในเมืองไทยกว่าร้อยปีเหมือนกัน ส่วนโรงงานผลิตน้ำแข็งที่เป็น

โรงใหญ่ๆ จะเริ่มมีตั้งแต่ พ.ศ.ใด ยังหาหลักฐานแน่ชัด ไม่ได้ว่าเป็นโรงผลิดของบริษัทใด เริ่มเดินเครื่องเมื่อใด แต่จากโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สยามเมอร์แคนไทล์ กาเซต์ ฉบับวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ เท่ากับ พ.ศ. ๒๔๓๒ ลงข้อความขายน้ำแข็งปอนด์ละ ๔ อัฐ ว่ามีขายทุกวัน ที่โอเรียนเตล โฮเตล บริษัท แอนเดอร์สันเป็นผู้ขาย ในโฆษณาไม่ได้บอกว่า เป็นผู้ผลิตเองหรือไม่ แต่ประโยคหนึ่ง บอกว่าหากต้องการน้ำแข็งถึงพันปอนด์ ต้องบอกก่อนล่วงหน้า ๒ วัน น่าจะทำให้เชื่อได้ว่าบริษัทแอนเดอร์สัน มีเครื่องทำน้ำแข็งเองอยู่ มิใช่สั่งจากสิงคโปร์หรือจากที่อื่นไกลๆ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็คงไม่สามารถนำน้ำแข็งมาส่งอย่างรวดเร็วได้

ข้อมูลประกอบการเขียน

«. หนังสือ “สาส์นสมเด็จ” ฉบับองค์การค้าฃองคุรุสภา จัดพิมพ์ เล่ม ๑๒ พ.ศ. ๒๕๐๔ดูหน้า ๒๙๐ และ ๓๑๐

๒. หนังสือ “ความทรงจำ” พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์ศิลปบรรณาคาร พ.ค. ๒๕๑๖ ดูตอน ๑ หน้า ๓๐ และหน้า ๒๗๓ (เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็ก)

๓. หนังสือ “เรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ชมรมดำรงวิทยาในอุปถัมภ์หม่อมเจ้าพูนพิคมัย ดิศกุล จัดพิมพ์พ.ศ. ๒๕๐๗ดูหน้า ๖๐ พระนิพนธ์ ในหม่อมเจ้าหญิงพูนพิคมัย ดิศกุล เรื่อง “น้ำแข็ง” คัดจากหนังสือ “ราชประดิษฐ์ศิษยานุสรณ์ นวกะ ๒๕๑๘”

๔. หนังสือพิมพ์ “The Siam Mercantile Gazette” ฉบับวันที่ ๒๔สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๙เท่ากับ พ.ศ.๒๔๓๒หน้า ๔ ถ่ายไมโครพิล์มจากหอสมุดแห่งชาติ