เจ้าจอมเอี่ยม

ผู้มีฝีมือนวดล้ำเลิศ

บรรดากุลสตรีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในพระราชสำนัก ฝ่ายในนั้น แต่ละคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ ตามความสามารถ

เช่น เป็นพนักงานพระภูษา พนักงานพระศรี หรือบางคนที่มีคุณสมบัติพิเศษก็จะมีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นนางอยู่ งานเชิญเครื่องราชูปโภคตามเสด็จบ้าง ผลัดเวรประจำบนพระราช มณเฑียรคอยรับรับสั่งบ้าง

การที่กุลสตรีเหล่านี้จะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นนั้น อยู่ที่พระราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว โดยเฉพาะการเลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าจอม

และเมื่อเจ้าจอมท่านใดมีพระเจ้าลูกเธอ ก็จะได้เลื่อนตำแหน่งสูง เป็นเจ้าจอมมารดา ซึ่งนับว่าเป็นผู้มีฐานะมั่นคงขึ้น เพราะพระเจ้าลูกเธอจะทรงเป็นเครื่องผูกพันพระทัยพระบรมราชชนกได้อย่างดียิ่ง แสะ การที่จะดำรงฐานะให้มั่นคงด้วยการเป็นคนโปรดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ที่คุณสมบัติส่วนตัว และความสามารถในการอภิบาลพระเจ้าลูกเธอเป็น สำคัญ

สำหรับเจ้าจอมที่ไม,มีโอกาสเป็นเจ้าจอมมารดานั้น การที่จะ ผูกพันน้ำพระทัยแห่งพระบรมราชสวามีได้นั้นมีเพียงประการเดียว คือ คุณสมบัติเฉพาะตัว ดังเช่น เจ้าจอม “ก๊ก อ” แห่งสกุลบุนนาค ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลายท่านที่ไม่มีโอกาส เป็นเจ้าจอมมารดา แต่ก็สามารถที่จะรักษาความเป็นคนโปรดไว้อย่าง แน่นเหนียวจนตลอดรัชสมัย

โดยเฉพาะเจ้าจอมเอี่ยม หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า คุณจอมเอี่ยม

คุณจอมเอี่ยม หนึ่งในเจ้าจอมก๊ก อ. เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธ์ (เทศ บุนนาค) เกิดแต่ท่านผู้หญิงอู่ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการในพระราชสำนักฝ่ายในพร้อมพี่สาวน้องสาว มีเจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื่อน

คุณจอมเอี่ยมเป็นเจ้าจอมที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว ทำให้สามารถที่จะรักษาความเป็นคนโปรดไว้ได้อย่างมั่นคงจนตลอดพระชนม์ชีพ

คุณสมบัติพิเศษดังกล่าว คือฝีมือในการนวด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีที่ทรงมีพระราชภารกิจที่หนักที่สุดพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้เพราะขณะนั้นเป็นเวลาที่ความมั่นคงและเอกราชของชาติ ถูกมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกคุกคามอย่างหนัก ปัญหานี้เป็น ปัญหาที่ละเอียดอ่อนซับช้อน หากทรงดำเนินพระบรมราโชบายพลาดพลั้งเพียงเล็กน้อยอาจต้องสูญเสียเอกราชของชาติ ทรงต้องใช้พระปรีชาสามารถ พระวิริยะอุตสาหะ และพระปฏิภาณไหวพริบตลอดเวลา ทรงต้องครุ่นคิดตริตรองต่อเนื่องกัน ไม่ว่าเวลาเสวยหรือเวลาบรรทมทำให้พระสุขภาพพลานามัยทรุดโทรม ประชวรเสมอๆ

พระโรคประจำพระองค์คือพระอาการปวดเมื่อยพระวรกาย ต้องมีพนักงานถวายงานนวดเวลาบรรทม ปัญหาที่ทรงประสบมากที่สุดเกี่ยวกับการนวดก็คือฝีมือของผู้นวด ปรากฏหลักฐานเกี่ยว กับปัญหานี้ชัดเจนเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๕๐ ดังที่ทรงมีพระราชปรารภมายังสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล เกี่ยวกับข้าราชบริพารชายซึ่งดามเสด็จและเป็นผู้ถวายการนวด ความ ตอนหนึ่งว่า

“…ขึ้นชื่อว่าผู้ชายทุกวันนี้ แรงน้อย จะนวดแต่ละทีเหมือนยกเขา พระสุเมรุ น้อยใจว่าได้ความทุกข์ยากเสียจริงๆ ตื่นขึ้นแข็งไปทั้งข้าง เหมือนจะเป็นปัตฆาฎได้เอาตาหมอมาสอนเส้น ได้กรมสมมติเป็น โมเดล ให้รู้จักว่าเส้นมนุษย์มันไม่ได้พันตัวเหมือนเถาวัลย์เลื้อย…” การนวดไม่ถูกหลักวิธีนี้ นอกจากจะไม่ทำให้หายปวดเมื่อยแล้ว ยังจะทำให้เกิดอาการขัดเคล็ด และที่สำคัญคือทำให้บรรทมไม่หลับ ดังที่ทรงเล่าว่า “…ที่ไม่หลับนั้นเพราะนวดไม่ถูก แลพูดอะไรไม่มีใครได้ยิน ได้ยินแล้วทำอะไรไม่ถูก ฤๅไม่มีคนเสียทีเดียว แต่เคราะห์ดี ที่ได้อ้ายฟ้อนเป็นคนจริตน้อย เคยได้ยากกรากกรำมาไม่ค่อยจะอ้อนแอ้น แลเพราะหาวนอนอยู่แล้วด้วย พอประทับขาเข้าแน่นไม่คลอนๆ แคลนๆ ร้อนได้สักสองสามวาบก็ง่วง…”

จากพระราชหัตถเลขาที่ยกมานี้ แสดงให้เห็นชัดเจนถึงปัญหาเรื่องพนักงานถวายการนวด ทรงอึดอัดพระทัยที่ไม่มีผู้ใดสามารถถวายงานนวดได้ถูกพระทัยจนถึงกับทรงมีพระราชปรารภว่า

‘‘…เป็นอันรวมความว่าหัดทหารง่ายกว่าหัดให้คนนวด มันจำ แห่งไม่ได้จริงๆ ไม่ใช่ขี้เกียจ..”

ความอึดอัดพระทัยเกี่ยวกับผู้ถวายงานนวดนั้น ทำให้ทรงคิด ปัญหาเปรียบเปรยข้าราชบริพารชายผู้ทำหน้าที่นวดในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ว่า

“…นวดมันไม่ได้ดี เป็นปัญหาที่ได้ถามกันในโต๊ะว่าบรรดาสัตว์โลกอะไรมีกำลังมาก ตอบกันว่ามดตามแบบ ถามต่อไปว่า อะไรมี กำลังน้อย ตอบกันว่าช้าง พ่อว่าไม่ใช่ บุรุษที่เป็นหมอนวด เฉพาะแต่ ผู้ชายมันช่างเป็นพ่อถนิมสร้อยทุกๆ คน หาแรงสักครึ่งผู้หญิงไม่ได้อะไรก็สบาย ร้ายแต่นวดได้ความเดือดร้อนเป็นที่ล้นพ้น…”

การที่ทรงมิพระราชปรารภว่า “หาแรงสักครึ่งผู้หญิงไม่ได้” นั้น ก็เพราะว่าเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในพระราชฐาน ทรงมีคุณจอมเอี่ยม ทำหน้าที่ถวายงานนวดด้วยหลักวิธีที่ถูกต้อง และฝีมือที่ดีเลิศ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย

การนวดนั้นมิใช่ว่าทุกคนจะสามารถนวดได้ถูกพระทัย คุณจมื่น มานิตย์นเรศร์เคยเล่าไว้ว่า การถวายอยู่งานนวดนั้นจะต้องมีหลักวิชา โดยจะต้องออกไปเรียนกับหมอนวดผู้ชายเพื่อจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ กายภาพ ระบบการหมุนเวียนของเลือดลม และความสัมพันธ์ของ เส้นเอ็นเส้นประสาททั่วร่างกาย นอกจากนี้ยังต้องฝึกให้รู้จักใช้แรงนิ้วแต่ละนิ้วที่จะกดในส่วนร่างกายแต่ละส่วน เช่น นิ้วหัวแม่มือ หากกดไม่ถูกต้องอาจเกิดเป็นรอยช้ำห้อเลือด หากกดผิดพลาดหรือแรงไปจนเส้นพลิกก็อาจขัดเคล็ดได้ เป็นต้น

คุณจอมเอี่ยม เป็นผู้มีคุณสมบัติในด้านการนวด เรียนรู้วิธีการ นวดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ประกอบกับมีแรงมากและรู้จังหวะ พอที่จะกดหรือนวดได้อย่างพอเหมาะ ทำให้ทรงสบายคลายความ เมื่อยปวด บรรเทาพระอาการเคร่งเครียด เป็นที่พอพระราชหฤทัย และโปรดปราน

ความโปรดปรานของพระองค์ที่ทรงมีต่อคุณจอมเอี่ยม ปรากฏอย่างแจ้งชัดในพระราชหัตถเลขาครั้งเสด็จพระราชดำเนิน ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อทรงไม่สมพระทัยในฝีมือนวดของเหล่า ข้าราชบริพารชาย ทรงนึกถึงฝีมือการนวดของคุณจอมเอี่ยม จนถึง กับมีพระราชดำริจะให้คุณจอมเอี่ยมตามเสด็จเพื่อถวายงานนวด แม้จะทรงรู้ว่าเสียงต่อการถูกนินทาว่าร้าย ดังที่ทรงกล่าวไว้ในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า

“… ในเวลามานี้ความสุขทุกข์ในส่วนตัวว่าโดยย่อวันแรกดีมาก ต่อมาดูลงรูปกับเมื่ออยู่บางกอกในเวลาสบาย ได้ความเดือดร้อนแต่เวลานอน ตาสัมพาหะแกหัดอ้ายลบ ให้นวดงอก่อเหมือนแก ดูอาการราวกับจะยกเขาพระสุเมรุ เหน็ดเหนื่อยนี่กระไร แต่เราวางมือไม่ได้ ต้องเป็นครูหมอนวด หลับช้าทุกวันๆ นี้ออกจะเป็นปตฆาฎ คิดถึงนางเอี่ยมกับนางเหมเต็มที เรี่ยวแรงถ้าจะเทียบเท่าผู้ชายชนิดนี้ ๘ คน เท่าแรงหมอนวดแท้ ๑๖ คน การมันประหลาดเช่นนี้ จะ เชื่อว่าผู้หญิงแรงกว่าผู้ชายฤไม่ก็ตามแต่จะเห็น…”

และอีกฉบับหนึ่งมีเนื้อความทำนองเดียวกัน คือทรงพระราชปรารภเกี่ยวกับเรื่องการนวดของมหาดเล็ก และคิดถึงฝีมือนวดของ คุณจอมเอี่ยม ความว่า

“…จะไม่ใคร่จะสนุกมาคราวนี้เพราะฉันนอนไม่หลับเต็มที่ การปฏิบัติไม่ถึงใจ กล่าวคือนวดไม่ได้เลย แลขี้เกียจนอนกันเป็นกำลัง… มหาดเล็กพูดอะไรก็ไม่เข้าใจ เรียกเอาอะไรไม่ได้ จนลงเสี่ยงทายเมื่อคืนนี้ ว่าถ้านอนไม่หลับจะต้องทนเสียเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โทรเลขเข้าไปให้ส่งนางเอี่ยมออกมา ให้เขาลือว่าเป็นบ้ากาม ฤๅเสด็จ กลับเข้าไปบางกอกให้เขาลือว่าจวนตายแล้ว ดีกว่าไปตายจริงๆ เดือดร้อนเต็มที ไม่มีความสุขเลย ถ้ากลับมามีเมียแหม่มเข้ามาด้วย อย่าได้เข้าใจว่าไปเกิดคิดเคลิ้มคลั่งขึ้นทั้งแก่ ขอให้เข้าใจว่าเป็น เนิสอย่างมีสเตอสโตเบล…”

จากพระราชหัตถเลขาทั้ง ๒ ฉบับนี้ทำให้แจ้งชัดถึงคุณสมบัติ อันโดดเด่นเฉพาะตัวและความสำคัญของคุณจอมเอี่ยม อันเป็นเหตุให้ทรงโปรดปรานจนตลอดพระชนมายุ

นอกจากมีพระราชปรารภกับผู้อื่นแล้ว ในส่วนคุณจอมเอี่ยม ก็ได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขา ทรงบอกถึงความคิดถึงและยกย่องความดีของคุณจอมในด้านถวายงานนวดอย่างมากมาย เรื่องนี้นำความปลาบปลื้มมาสู่คุณจอมเอี่ยมเป็นที่สุด ดังจะเห็นได้จาก พระหัตถเลขาของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี ซึ่งทรงมีถึงพระราชโอรสที่ตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ความตอนหนึ่งว่า “.. แม่ได้ยินเขา โจทย์กันถึงพระราชโทรเลขถึงกรมดำรงว่า ไม่ทรงสบายแลกริ้วมหาดเล็ก มีตวามวิตกอยู่เป็นอันมาก ไหนจะวิตก เกรงพระอาการอื่นจะกำเริบ ไหนจะกลัวลูกถูกกริ้วด้วย แต่เมื่อทราบตามหนังสือของลูกก็คลายวิตกไปส่วนหนึ่ง แม่เอี่ยมเขาได้รับพระราชหัตถ์ทรงพรรณาคุณความดีในการนวดอยู่ข้างเหวมาก บอกว่าครั้งนี้ตัวได้ชื่อเสียงที่สุด…”

คุณจอมเอี่ยมรับใช้สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความซื่อตรงจงรักภักดีและขยันหมันเพียร เป็นเหตุให้ทรงมีพระเมตตาและมีน้ำพระทัยผูกพัน ถึงกับทรงมีพระกังวลเกี่ยวกับชีวิตในอนาคตของคุณจอมเอี่ยม เมื่อสิ้นพระองค์แล้ว ปรากฏหลักฐานเรื่องนี้ในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓ ความตอนหนึ่งว่า “…ฉันมีความในใจอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการในส่วนตัวแท้ จะพูดกับใครก็มีความละอาย ได้เคยพูดแต่กับกรมสมมติ แต่ยังไม่เป็น การตกลงแน่นอนกันอย่างไร คือบรรดาเจ้าจอมที่เป็นคนโปรดปราน ของฉันมีลูกหมดทุกคน การภายหน้าของคนเหล่านั้นคิดประกอบกันกับลูกก็พอเห็นทางที่จะทำไปไม่ยาก แต่มามีไม่มีลูกอยู่ ๒ คน นางเอี่ยมกับนางเอิบ…’

ความกังวลอันเกิดแต่ความห่วงใยของพระองค์ เกิดจากพระ

เมตตาที่ทรงมีต่อคุณจอมเอี่ยมอย่างแท้จริง เพราะมิได้ทรงห่วงใย เฉพาะความเป็นอยู่ แต่ทรงห่วงลึกลงไปถึงจิตใจ ดังที่ทรงบรรยาย ความห่วงใยไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า “ …ข้อที่จะคิดว่าให้เป็นพนักงานต่อไปนั้น คนที่เคยโตเสียมากเช่นนี้ เห็นจะทนไปนั่งกับพนักงานไม่ได้ ผลประโยชน์ที่เจ้าแผ่นดินจะสามารถให้แก่พนักงานก็คงไม่พอ กิน…” และ ”…ถ้าลงจนตองตอยไปเที่ยวเป็นข้าเจ้านายเขาใช้เลวๆ ก็ เป็นที่น่าสงสาร ใจหายเต็มที…”

นอกจากความห่วงใยแล้วยังทรงมีความห่วงหาอาลัยเจืออยู่ด้วย แม้จะทรงปรารภว่า “…นางเอี่ยมอยู่มากับฉันถึง ๒๐ ปีแล้ว ถ้าอีก ๑๔ ปีฉันตาย อายุเขาถึง ๔๖…อยู่ข้างจะเกินควรอยู่บ้าง ถ้าทอดธุระ เสียว่าเขาคงหาผัวได้ ถ้าเขาหาไม่ได้ ฤๅเขาไม่หา เป็นอันเราทำความลำบากให้เขาเมื่อภายแก่…” และ

“..ลงปลายคงต้องเป็นไปอยู่นอกวัง การอยู่นอกวังนั้นถึงเวลาที่ควรฉันจะทอดธุระ ว่าเราตายไปไม่ได้เลี้ยงเขาๆ ไม่มีลูกเต้า ก็ต้อง มีผัวอยู่เองไม่อัศจรรย์ อะไรเช่นนี้จึงจะชอบ ฉันก็ได้พยายามที่จะทอดธุระเช่นนั้นอยู่บ้าง แต่ไม่พ้นจากความนึกหวงแหน…”

หลังจากทรงมีพระราชดำริรอบคอบแล้ว จึงจะโปรดให้สร้างบ้าน ขึ้นที่เพชรบุรีเพื่อให้เป็นที่อยู่ของคุณจอมเอี่ยม ดังที่มีพระราชปรารภ เรื่องนี้กับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า

“…ครั้นเกิดคิดทำบ้านต้นขึ้นคราวนี้ จึงนึกว่าถ้าหาบ้านต้นไว้ ที่เพชรบุรีสักแห่งหนึ่งก็จะดี เอาเล็กขนาดบ้านคนธรรมดาที่จะปกครองได้ เวลาไปเที่ยวเตร่อยู่ก็รักษาไว้เป็นบ้านต้น เมื่อจะยกให้เมื่อใดก็จะยกให้ได้ ถึงจะพลาดพลั้งเขาก็มีลูกผัวไปก็จะไม่สู้น่าอาย เหมือนก่อสร้างตึกรามอะไรไว้ในบางกอก ให้คนไปตอมกันสู้ๆ ซ่า ไปตอมกันบ้านนอกคอกนาจะเสียพระเกียรติยศน้อยลง ถ้าเขาซื่อตรงอยู่ ก็เป็นอันได้ให้บำเหน็จรางวัลเลี้ยงตลอดชีวิตสมความที่รักใคร่เมื่ออยู่ไม่ได้ เขาจะย้ายมาบางกอกก็ย้ายเป็นอันฉันได้ให้แล้ว…”

ถึงแม้จะทรงคิดทบทวนถึงความควรไม่ควรเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้งหลายหน แต่ก็ยังไม่ทรงหมดพระกังวล  “…ถ้าคิดเช่นนี้หักโหมให้มันแลต้องเตรียมจนคนเขาเห็นว่าฉันเชื่อว่าจะไม่มีผัว เป็นการหลงไป เช่นท่านรัตนาธิเบศร เขาไปมีผัวเข้าเช่นนั้นก็ออกจะเสียๆ เป็นการ งุ่มง่ามหลงใหลไปอีก จึงเป็นปัญหาขัดข้องอยู่ในใจฉันมานานแล้ว ได้คิดหลายอย่าง…”

แต่เมื่อเวลาที่ทรงหวั่นวิตกมาถึง คือวันเสด็จสวรรคต คุณจอมเอี่ยมก็ได้แสดงให้ประจักษ์ถึงความซื่อตรงจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาทด้วยการรักศักดิ์ศรีและเกียรติยศของความเป็นคุณจอมคนโปรดไว้เป็นอย่างดี

ในบั้นปลายชีวิต คุณจอมเอี่ยมใช้ชีวิตเรียบง่ายร่วมกับพี่น้อง เจ้าจอมก๊ก อ. ด้วยกัน ในวังสวนสุนันทา

คุณจอมเอี่ยมถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค