ค้นหา

เรื่องเก่าเล่าใหม่

มีของกินแล้วไม่กิน มันก็เน่า มีของเก่าแล้วไม่เล่า ก็ลืมหลง โบราณชี้บอกเช่นเห็นตรง ๆ ถ้าลืมหลงเสียเปล่าไม่เข้าการ

ป้ายกำกับ

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

ลูกท่านหลานเธอ ๗


คอนสแตนติน ฟอลคอน สามีนางมารี ปินยา เดอ กีย์มาร์
คอนสแตนติน ฟอลคอน สามีนางมารี ปินยา เดอ กีย์มาร์

ท้าวทองกีบม้า

ตำรับ ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ

ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา หม้อแกง มัก จะเป็นขนมอันดับแรกๆ ในความคิดของคนไทยว่าเป็นขนมไทยแท้แต่โบราณ

เพราะไม่ว่าจะเป็นฝอยทองเส้นละเลียดเหลืองลออ ทองหยอด รูปกลมรีราวหยาดน้ำฉ่ำชุ่มด้วยความ

หวาน และกลีบนุ่มหนั่นชื่นฉ่ำของ ทองหยิบ หรือความหวานมันกลมกล่อมของสังขยาหม้อแกง ซึ่งมีทั้งรูปลักษณ์และรสชาติเลอเลิศล้วนชวนให้เชื่อมั่นว่าเป็นขนมที่บรรพบุรุษผู้มีฝีมือและความคิดฉลาดเฉลียวเชิงประดิดประดอยของเราได้ คิดค้นวิธีปรุงแต่งสืบกันมานับได้ร้อยๆ ปี

แต่จากหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ทำให้เรามิอาจปฏิเสธ ได้ว่าต้นกำเนิดของขนมเหล่านั้น มาแต่ชาวญี่ปุ่นเชื้อสายโปรตุเกสท่านหนึ่งได้นำเข้ามาเผยแพร่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา อ่านเพิ่มเติม “ลูกท่านหลานเธอ ๗”

ขบถมักกะสัน (Makassar rebellion)


           ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาได้ชื่อว่าเป็นมหานครนานาชาติเนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคนี้ ทั้งยังมีชนชาติต่าง ๆ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็นอันมาก ทว่าการมีชนต่างชาติเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชาติเหล่านั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

 

 

แต่เดิมนั้น เมื่อช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ กลุ่มชนต่างชาติที่มีอำนาจทางการเมืองสูงสุดคือ ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ทว่าหลังการเข้ามาของ ชายชาวกรีก นามว่า คอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อัครมหาเสนาบดีแห่งสยาม อำนาจของชาวเปอร์เซียรวมทั้งพวกมุสลิมอื่นๆในสยามก็เสื่อมถอยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจาก คอนสแตนติน ฟอลคอน ได้รับตำแหน่งเจ้าพระยาวิชเยนทร์แล้ว บรรดาตำแหน่งสำคัญ ๆ เกี่ยวหับการค้าและการดูแลเมืองท่าต่างๆก็ถูกเปลี่ยนย้ายจากชาวมุสลิมมาอยู่ในมือชาวยุโรปทั้งสิ้น อ่านเพิ่มเติม “ขบถมักกะสัน (Makassar rebellion)”

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.

Up ↑